(ย่อความจากผลงานของ : สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต), อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
- คำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง ตรงตามความเป็นจริง พอดีกับความเป็นจริง ไม่สุดโต่ง
- พระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาที วิริยะวาที กล่าวคือ สอนหลักกรรม ให้ความสำคัญแก่ความเพียร มนุษย์จะประเสริฐได้ ด้วยการฝึกฝนพัฒนา
- เป็นวิภัชชวาท คือ ไม่มองความจริงเพียงด้านเดียว แต่มองความจริงแบบแยกแยะจำแนกครบทุกด้าน
- เป็นศาสนาแห่งปัญญา ถือปัญญาเป็นยอดธรรม ไม่บังคับความเชื่อ ไม่เอาศรัทธาเป็นใหญ่
- สรรเสริญธรรมาธิปไตย = ถือความถูกต้องเป็นใหญ่
เหนือโลกาธิปไตย (ประชาธิปไตย) = ถือตามคนส่วนมากเป็นใหญ่
และ อัตตาธิปไตย = ถือตนเป็นใหญ่
จริงอยู่ว่าเสียงของคนข้างมากนั้นมีความสำคัญ แต่ถ้าไม่อยู่ในกรอบของศีลธรรม ไม่ประกอบด้วยปัญญา สักแต่พวกมากลากไป ก็ใช้ไม่ได้ - ผลทุกอย่างย่อมมาจากเหตุไม่ใช่เกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญ การที่โทษว่าบังเอิญนั้น เพราะยังหาเหตุไม่พบต่างหาก พระพุทธศาสนาจึงไม่สอนซัดไปที่ ดวง ฤกษ์ยาม โชคลาง ตลอดจนถึง เทวดา หรือพระเจ้า ว่าเป็นผู้ดลบันดาล แต่ชี้ไปที่การกระทำของแต่ละบุคคล ว่าเป็นเครื่องทำให้ดีให้ชั่ว
- พระพุทธศาสนาสอนให้มีความไม่ประมาท กำจัดเหตุแห่งความเสื่อม สร้างสรรค์เหตุแห่งความเจริญ
- พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่แสดงสัจธรรมลึกถึงหลักอนัตตา
- มี “วิมุตติ” หรือความหลุดพ้นจากทุกข์และปวงกิเลสเป็นจุดหมาย (หรือถ้ายังละกิเลสไม่ได้ ก็อย่าถึงกับเป็นทาสของกิเลสมากเกินไป)
- พระพุทธศาสนาสอนให้มองเห็นความทุกข์ แต่ให้ปฏิบัติด้วยความสุข สู่จุดหมายอันเป็นบรมสุข หรือ รู้เท่าทันความทุกข์ จึงมีความสุขที่สมบูรณ์
แนะนำหนังสือน่าอ่าน ของ อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ “คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา”